4.2วัฒนธรรมไทย : ด้านการแต่งกาย
วัฒนธรรม ไทยด้านการแต่งกาย
ตั้งแต่ในอดีตมานั้นคนไทยมีเอกลักษณ์ด้านการแต่งกายที่ใช้ ผ้าไทยซึ่งทำจาก ผ้าไหม
ผ้าทอมือต่างๆ นำมาทำเป็นผ้าสไบสำหรับผู้หญิงไทย ส่วนผู้ชายก็มีการแต่งกาย ที่นิยมสำหรับชาวบ้านก็คงหนีไม่พ้นผ้าขาวม้าซึ่ง
นิยมใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันก็ยังมีอยู่
ตัวอย่าง
ในสมัยอยุธยาตอนปลายนั้นหญิงไทยจะนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อรัดรูปแขนกระบอก
ผู้ชายจะนุ่ง ผ้าม่วงโจง สวมเสื้อคอปิด ผ่าอกแขนยาว โดยปกติจะไม่นิยมใส่เสื้อ ซึ่งในปัจจุบันนี้เราหาแทบไม่ได้แล้วสำหรับการแต่งกายแบบนี้
เนื่องจากคนไทยสมัยปัจจุบันนิยมแต่งกายตามแบบนิยมตามชาวยุโรป ซึ่งทำให้กายแต่งกายแบบอดีตเริ่มเลือนหายไปมาก
4.2.1การแต่งกายภาคอีสาน
ลักษณะการแต่งกาย ผู้ชาย ส่วนใหญ่นิยมสวมเสื้อแขนสั้นสีเข้มๆ
ที่เราเรียกว่า "ม่อห่อม" สวมกางเกงสีเดียวกับเสื้อจรดเข่า
นิยมใช้ผ้าคาดเอวด้วยผ้าขาวม้าผู้หญิง
การแต่งกายส่วนใหญ่นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นแบบทอทั้งตัว สวมเสื้อคอเปิดเล่นสีสัน
ห่มผ้าสไบเฉียง สวมเครื่องประดับตามข้อมือ ข้อเท้าและคอ
ผ้าพื้นเมืองอีสาน ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดูการทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ
ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิงในวัยต่างๆ
จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ
ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม
และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว
ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี
เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
๑. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน
จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
๒. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ
เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ
ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร
มีหลากหลายสีสันประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ
ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย
ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน
บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม
การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
4.2.1.1 กลุ่มอีสานเหนือ
เป็นกลุ่มชนเชื้อสายลาวที่มีกำเนิดในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง
และยังมีกลุ่มชนเผ่าต่างๆ เช่น ข่า ผู้ไท โส้ แสก กระเลิง ย้อ
ซึ่งกลุ่มไทยลาวนี้มีความสำคัญยิ่งในการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสาน
ส่วนใหญ่เป็นผลผลิตจากฝ้ายและไหม
แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการนำเอาเส้นใยสังเคราะห์มาทอร่วมด้วย ผ้าที่นิยมทอกันในแถบอีสานเหนือคือ
ผ้ามัดหมี่ ผ้าขิด และผ้าแพรวา ผ้ามัดหมี่
เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองที่ใช้กรรมวิธีในการย้อมสีที่เรียกว่า การมัดย้อม (tie dye) เพื่อทำให้ผ้าที่ทอเกิดเป็นลวดลายสีสันต่างๆ
เอกลักษณ์อันโดดเด่นก็อยู่ตรงที่รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายที่ผูกมัด
และการเหลื่อมล้ำในตำแหน่งต่างๆ ของเส้นด้ายเมื่อถูกนำขึ้นกี่ในขณะที่ทอ
ลวดลายสีสันอันวิจิตรจะได้มาจากความชำนาญของการผูกมัดและย้อมหลายครั้งในสีที่แตกต่าง
ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ การทอผ้ามัดหมี่จะมีแม่ลายพื้นฐาน 7 ลาย คือ หมี่ขอ หมี่โคม หมี่บักจัน หมี่กงน้อย หมี่ดอกแก้ว
หมี่ข้อและหมี่ใบไผ่ ซึ่งแม่ลายพื้นฐานเหล่านี้ดัดแปลงมาจากธรรมชาติ เช่น
จากลายใบไม้ ดอกไม้ชนิดต่างๆ สัตว์ เป็นต้น ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงได้แก่
เขตอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น อำเภอบ้านเขวา จังหวัดชัยภูมิ เป็นต้น
ผ้าขิด หมายถึงผ้าที่ทอโดยวิธีใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิดซ้อนเส้นยืนขึ้นตามจังหวะที่ต้องการ
เว้นแล้วสอดเส้นด้ายพุ่งให้เดินตลอด
การเว้นเส้นยืนถี่ห่างไม่เท่ากันจะทำให้เกิดลวดลายต่างๆ
ทำนองเดียวกับการทำลวดลายของเครื่องจักสาน
จากกรรมวิธีที่ต้องใช้ไม้เก็บนี้จึงเรียกว่า การเก็บขิด มากกว่าที่จะเรียก
การทอขิด ผ้าขิดที่นิยมทอกันมีอยู่ 3ชนิด ตามลักษณะประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก คือผ้าตีนซิ่น เป็นผ้าขิดที่ทอเพื่อใช้ต่อชายด้านล่างของผ้าซิ่น
เนื่องจากผ้าทอพื้นเมืองจะมีข้อจำกัดในเรื่องของขนาดผืนผ้า
ดังนั้นเวลานุ่งผ้าซิ่นผ้าจะสั้นจึงต่อชายผ้าที่เป็นตีนซิ่นและหัวซิ่นเพื่อให้ยาวพอเหมาะผ้าหัวซิ่น
ก็เช่นเดียวกันเป็นผ้าขิดที่ใช้ต่อชายบนของผ้าซิ่นผ้าแพรวา มีลักษณะการทอเช่นเดียวกับผ้าจก
แพรวา มีความหมายว่า ผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายที่ทอเป็นผืนมีความยาวประมาณวาหนึ่งของผู้ทอ
ซึ่งยาวประมาณ 1.5-2 เมตรผ้าแพรมน
มีลักษณะเช่นเดียวกับแพรวา แต่มีขนาดเล็กกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
นิยมใช้เช่นเดียวกับผ้าเช็ดหน้าและหญิงสาวผู้ไทนิยมใช้โพกผมผ้าลายน้ำไหล
ผ้าลายน้ำไหลนี้ที่มีชื่อเสียงคือ ซิ่นน่าน (ของภาคเหนือ)
มีลักษณะการทอลวดลายเป็นริ้วใหญ่ๆ สลับสีประมาณ 3 หรือ 4 สี แต่ละช่วงอาจคั่นลวดลายให้ดูงดงามยิ่งขึ้น
ผ้าลายน้ำไหลของอีสานกคงจะได้แบบอย่างมาจากทางเหนือโดยทอเป็นลายขนานกับลำตัว และจะสลับด้วยลายขิดเป็นช่วงๆ
ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ลักษณะของผ้าโสร่งจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายมีลวดลายเป็นตาหมากรุกสลับเส้นเล็ก1 คู่ และตาหมากรุกใหญ่สลับกัน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 2 เมตร เย็บต่อกันเป็นผืน
ผ้าโสร่ง เป็นผ้านุ่งสำหรับผู้ชาย ลักษณะของผ้าโสร่งจะทอด้วยไหมหรือฝ้ายมีลวดลายเป็นตาหมากรุกสลับเส้นเล็ก1 คู่ และตาหมากรุกใหญ่สลับกัน กว้างประมาณ 1 เมตร ยาว 2 เมตร เย็บต่อกันเป็นผืน
4.2.1.2 กลุ่มอีสานใต้
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์
ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง
มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาวผ้ามัดหมี่
ในกลุ่มอีสานใต้ก็มีการทอเช่นเดียวกันนิยมใช้สีที่ทำเองจากธรรมชาติเพียงไม่กี่สีทำให้สีของลวดลายไม่เด่นชัดเหมือนกลุ่มไทยลาว
แต่ที่เห็นเด่นชัดในกลุ่มนี้คือการทอผ้าแบบอื่นๆ
เพื่อการใช้สอยกันมากเช่นผ้าหางกระรอก
จะมีสีเลื่อมงดงามด้วยการใช้เส้นไหมต่างสีสองเส้นควั่นทบกันทอแทรก
ผ้าปูม เป็นผ้าที่มีลักษณะการมัดหมี่ที่พิเศษเป็นเอกลักษณ์ต่างจากถิ่นอื่น
ผ้าเซียม (ลุยเซียม)
ผ้าไหมที่นิยมใช้ในกลุ่มผู้สูงอายุ
ผ้าขิด การทอผ้าขิดในกลุ่มอีสานใต้มีทั้งการทอด้วยผ้าฝ้ายและผ้าไหม
แต่ส่วนมากมักจะใช้ต่อเป็นตีนซิ่นในหมู่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดี เพราะชาวบ้านทั่วไปไม่นิยมใช้กัน
ลักษณะการต่อตีนซิ่นของกลุ่มนี้นิยมใช้เชิงต่อจากตัวซิ่นก่อน
แล้วจึงใช้ตีนซิ่นต่อจากเชิงอีกทีหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มไทยลาวอย่างเด่นชัด 4.2.1.3 ลักษณะผ้าพื้นเมืองอีสาน
ลวดลายผ้าพื้นเมืองอีสานทั้งสองกลุ่มนิยมใช้ลายขนานกับตัว
ซึ่งต่างจากผ้าซิ่นล้านนาที่นิยมลายขวางตัวและนุ่งยาวกรอมเท้า
ในขณะที่ชาวไทยลาวนิยมนุ่งผ้าซิ่นสูงระดับเข่าแต่ไม่สั้นเหมือนผู้หญิงเวียงจันทร์และหลวงพระบาง
การต่อหัวซิ่นและตีนซิ่นจะต่อด้วยผ้าชนิดเดียวกัน ส่วนหัวซิ่นนิยมด้วยผ้าไหมชิ้นเดียวทอเก็บขิดเป็นลายโบคว่ำและโบหงายมีสีแดงเป็นพื้น
ส่วนการต่อตะเข็บและลักษณะการนุ่งจะมีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากภาคอื่นคือ
การนุ่งซิ่นจะนุ่งป้ายหน้าเก็บซ่อนตะเข็บ ยกเว้นกลุ่มไทยเชื้อสายเขมรในอีสานใต้
ซึ่งมักจะทอริมผ้าเป็นริ้วๆ ต่างสีตามแนวตะเข็บซิ่น จนดูกลมกลืนกับตะเข็บและเวลานุ่งจะให้ตะเข็บอยู่ข้างสะโพก
4.2.1.4 การใช้ผ้าสำหรับสตรีชาวอีสาน
ผ้าซิ่นสำหรับใช้เป็นผ้านุ่งของชาวอีสานนั้นจะมีลักษณะการใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ผ้าซิ่นสำหรับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว จะใช้ผ้าสามชิ้นมาต่อกันโดยแบ่งเป็นผ้าหัวซิ่น ผ้าตัวซิ่น และผ้าตีนซิ่น ผ้าแต่ละชิ้นมีขนาดและลวดลายต่างกันผ้าหัวซิ่น จะมีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวเท่ากับผ้าซิ่น มีลวดลายเฉพาะตัว คือ ทอเป็นลายขวางสลับเส้นไหมแทรกเล็กๆ สลับสีสวยงามส่วนตัวซิ่น คือส่วนกลางของผ้าซิ่นมีความกว้างมากกว่าส่วนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเท่าฟืมที่ใช้ทอ ซึ่งนิยมทอเป็นลายมัดหมี่ส่วนตีนซิ่น คือส่วนล่างของผ้าซิ่นจะมีความกว้างเพียง 10 ซม. และยาวเท่ากับความยาวของผ้าซิ่น เมื่อต่อเข้ากับตัวซิ่นแล้วลายจะเป็นตรงกันข้ามกับผ้าหัวซิ่น ความงามอยู่ที่การสลับสีส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากลวดลายของสัตว์ เช่น ลายงูทำเป็นลายปล้องสีเหลืองและดำผ้าซิ่นสำหรับหญิงสาว จะเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่เหมือนกันแต่เป็นผืนเดียวกันตลอด ใช้วิธีการมัดหมี่เป็นดอกและลวดลายติดต่อแล้วทอเป็นผืนเดียวกันตลอด ในผืนซิ่นจะมีลายที่ริมขอบด้านล่างในลักษณะเชิงซิ่นลวดลายส่วนใหญ่ทั้งตัวซิ่นและเชิงนิยมใช้ลายรูปสัตว์ เช่น ไก่ฟ้า หงษ์ทอง
ผ้าซิ่นสำหรับผู้หญิงที่มีสามีแล้ว จะใช้ผ้าสามชิ้นมาต่อกันโดยแบ่งเป็นผ้าหัวซิ่น ผ้าตัวซิ่น และผ้าตีนซิ่น ผ้าแต่ละชิ้นมีขนาดและลวดลายต่างกันผ้าหัวซิ่น จะมีขนาดกว้างประมาณ 20 ซม. ยาวเท่ากับผ้าซิ่น มีลวดลายเฉพาะตัว คือ ทอเป็นลายขวางสลับเส้นไหมแทรกเล็กๆ สลับสีสวยงามส่วนตัวซิ่น คือส่วนกลางของผ้าซิ่นมีความกว้างมากกว่าส่วนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเท่าฟืมที่ใช้ทอ ซึ่งนิยมทอเป็นลายมัดหมี่ส่วนตีนซิ่น คือส่วนล่างของผ้าซิ่นจะมีความกว้างเพียง 10 ซม. และยาวเท่ากับความยาวของผ้าซิ่น เมื่อต่อเข้ากับตัวซิ่นแล้วลายจะเป็นตรงกันข้ามกับผ้าหัวซิ่น ความงามอยู่ที่การสลับสีส่วนใหญ่จะเลียนแบบจากลวดลายของสัตว์ เช่น ลายงูทำเป็นลายปล้องสีเหลืองและดำผ้าซิ่นสำหรับหญิงสาว จะเป็นผ้าซิ่นมัดหมี่เหมือนกันแต่เป็นผืนเดียวกันตลอด ใช้วิธีการมัดหมี่เป็นดอกและลวดลายติดต่อแล้วทอเป็นผืนเดียวกันตลอด ในผืนซิ่นจะมีลายที่ริมขอบด้านล่างในลักษณะเชิงซิ่นลวดลายส่วนใหญ่ทั้งตัวซิ่นและเชิงนิยมใช้ลายรูปสัตว์ เช่น ไก่ฟ้า หงษ์ทอง
4.2.2
การแต่งกายประจำภาคกลางภาคกลาง
ภาษาภาคกลาง
ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ
ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญ หรือชาวลาวพวน
ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง
การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น
คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย
ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า
"ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง
ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง
นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย
และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม
ชุดไทย ร.5 ตัวเสื้อเป็นผ้าลูกไม้เนื้อนุ่ม
เอวใส่ลาสติกระบายสวยงามทั้งรอบคอและปลายแขนเสื้อ แขนตุ๊กตาติดกระดุมด้านหลังสวมใส่สบาย
โจรกระเบนผ้าตราดลายไทยสอดดิ้น
เด็กหญิงในสมัยนี้
นุ่งโจงกระเบนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่
ไม่สวมเสื้อเวลาออกงานจึงสวมเสื้อคอติดลูกไม้ที่เรียกว่า เสื้อคอกระเช้า
เวลาแต่งตัวเต็มที่นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อแขนยาวคอปิดแต่งด้วยผ้าลูกไม้งดงาม
สวมถุงเท้า รองเท้า เจ้านายที่ทรงพระเยาว์ ทรงฉลองพระองค์แขนยาว
พองและทรงเครื่องประดับมาก ยังคงนิยมไว้ผมจุก เมื่อตัดจุกแล้วจึงเริ่มไว้ผมยาว
ได้กล่าวไว้แล้ว
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไม่มีพระราชประสงค์จะให้ชาวต่าง
ประเทศดูหมิ่นเหยียดหยามคนไทยว่าแต่งกายเหมือนคนป่า
จึงทรงกวดขันเรื่องนี้มากถึงกับโปรดให้ออกประกาศ 2 ฉบับ ใชับังคับราษฎร
ฉบับแรกคือ
1.ใประกาศห้ามคนแต่งตัวไม่สมควร
มิให้ไปมาในพระราชฐานที่เสด็จออก
โดยห้ามผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงสวมแต่เสื้อชั้นในหรือไม่สวมเสื้อเลย
หรือนุ่งกางเกงขาสั้นเหนือเข่า หรือนุ่งผ้าหยักรั้งไม่ปิดเข่าหรือนุ่งโสร่ง
หรือสวมรองเท้าไม่มีถุงเท้า ไม่ว่ารองเท้าชนิดใด ๆ หรือสวมรองเท้าสลิปเปอร์
ตลอดจนเด็กที่เปลือยกายเข้ามาในบริเวณพระราชวังชั้นนอกด้านหน้ากับบริเวณวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ยกเว้นคนทำงานขนของก่อสร้าง กวาดล้าง ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนหรือพาเด็กหรือปล่อยเด็กที่แต่งกายไม่สมควรดังกล่าวล่วงเข้ามาในเขตที่กำหนดไว้ให้นายประตูขับไล่ห้ามปราม
ถ้าไม่ฟังให้จับส่งศาลกระทรวงวังตัดสินโทษ ปรับไม่เกินคราวละ 20 บาท หรือขังไว้ใช้การไม่เกินคราวละ 15 วัน
หรือทั้งปรับทั้งขังตามควรแก่โทษ ถ้าผู้ทำผิดเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีลงไป บิดามารดาหรือมูลนายหรือผู้เลี้ยงดูเด็กนั้น
จะต้องรับโทษแทนทุกประการ ประกาศเมื่อวันที่ 20 มกราคม ร.ศ.117
(พ.ศ.2441) ให้ใช้บังคับตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ร.ศ.117 เป็นต้นไป
2.ชุดราชปแตน
- เป็นชุดไทยสำหรับท่านชายแบบทางการใช้ได้กับการใส่เพื่อเข้าร่วมงานพิธีแบบไทย
หรือเป็นชุดสำหรับเจ้าบ่าว ในพิธีหมั้นหรือพิธีมงคลสมรส
ชุดนี้โดยปกติจะใส่กับโจงกระเบนมีให้เลือก 8
สีด้วยกันตัดเป็นสำเร็จรูปขอบยางยืด
3.เครื่องแต่งกายของชายไทยในสมัยต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ได้ปรับปรุงตามแบบประเพณีนิยมสากลของชาวตะวันตกเป็นครั้งแรก
แต่หลังจากเสด็จประพาสอินเดีย-พม่า ในปี พ.ศ.2414 แล้ว
มีพระราชดำริว่า การสวมเสื้อนอกแบบฝรั่งซึ่งต้องมีเสื้อเชิ้ต สวมข้างในแล้วยัง
มีผ้าผูกคออีกด้วยนั้น ไม่เหมาะสมกับอากาศร้อนของเมืองไทย
จึงโปรดให้ดัดแปลงเป็นเสื้อนอกสีขาวคอปิดติดกระดุมตลอดอก 5
เม็ด เรียกว่า “เสื้อราชแปตแตนท์ (RajPattern) ซึ่งต่อมาเรียกเพี้ยนไปเป็น “เสื้อราชปะแตน” ซึ่งแปลว่า “แบบหลวง” แต่ยังคงนุ่งผ้าม่วงสีกรมท่าเหมือนเดิม
ในสมัยนี้ นิยมสวมหมวกแบบยุโรปหรือหมวกหางนกยูง ถือไม้เท้า
ซึ่งมักจะใช้คล้องแขนจึงเรียกว่า “ไม้ถือ” ต่อมาในปี พ.ศ. 2439
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ทหารนุ่งกางเกงขายาวแทนผ้าม่วงโจงกระเบนสีกรมท่า
เป็นผลให้ประชาชนเริ่มนิยมนุ่งกางเกงขายาวและสวมหมวกกะโล่กันขึ้นบ้างในตอนปลายรัชกาล
4.การแต่งกายของชายทั่วไป
ยังคงนิยมแต่งกายตามสบายเช่นเดียวกับสมัยรัชกาลก่อน ๆ คือ นุ่งผ้าลอยชาย
มีผ้าขาวม้าหรือผ้าอะไรก็ได้แต่ะบ่าคลุมไหลหรือคาดพุง
ซึ่งคงจะเป็นประเพณีการแต่งกายของคนไทยตามปกติมาแต่โบราณและคาดพุง
ไม่นิยมใช้ผ้าแตะบ่า การนุ่งลอยชาย คือ การเอาผ้าทั้งผืนนั้นมาโอบหลังกะให้ชายผ้าข้างหน้าเท่ากัน
แล้วขมวดชายพก ค่อนข้างใหญ่เหน็บแน่นติดตัว แล้วทิ้งชายห้อยลงไปข้างหน้า
การนุ่งผ้าลอยชายนี้ บางคนชอบนุ่งใต้สะดือ
ชายพกที่ค่อนข้างใหญ่นี้เพื่อเก็บกล่องหรือหีบบุหรี่ที่ตนชอบ
ส่วนผ้าคาดพุงไม่ว่าจะเป็นผ้าขาวม้าหรือผ้าส่านหรือผ้าอะไรผูกเป็นโบเงื่อนกระทก
ไว้ข้างหน้า ทิ้งชายผ้าลงมาเล็กน้อย
4.2.3การแต่งกายประจำภาคใต้
ภูมิหลัง ดินแดนทางภาคใต้ของประเทศไทย อันประกอบด้วย 14
จังหวัดนั้น แต่เดิมมีผู้คนอาศัยอยู่ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
จนต่อมาได้พัฒนาเกิดเป็นชุมชนและกลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญ
อันเป็นจุดเชื่อมโยงระหว่างดินแดนตะวันออกและตะวันตกของโลก ซึ่งเป็นแหล่ง
แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่สำคัญโดยเฉพาะประเทศจีน อินเดีย และหมู่เกาะสุมาตรา
เรียกดินแดนแห่งนี้กันว่าอาณาจักรศรีวิชัย
อิทธิพลในการทอผ้าจากอินเดีย
ที่มีการสอดผสมดิ้นเงินดิ้นทอง ลงในผืนผ้าสร้างรูปแบบแก่ผ้าในภาคใต้
โดยซื้อหาวัสดุส่วนใหญ่จากอินเดีย ต่อมาเนื่องจากศึกสงคราม บ้านเมือง
ล่มสลายลงการทอผ้าอันวิจิตรก็สูญหายไปด้วย โดยต่อมาภายหลังหันมานำเข้าผ้าพิมพ์
และผ้าแพรจากจีนรวมถึงผ้าบาติกจากเกาะชวา และ ผ้ายุโรปมาสรวมใส่
จากการที่ชาวใต้มิได้มีการปลูกฝ้ายหรือไหมขึ้นใช้เอง เนื่องจากข้อจำกัดของพื้นที่
จึงทำการ สั่งซื้อผ้าสำเร็จรูปโดยเฉพาะผ้าบาติก
หรือปาเต๊ะมาใช้กันจนภายหลังเป็นเครื่องแต่งกาย ประจำภาคไปในที่สุด ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป
คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา
และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง การแต่งกายของชาวใต้ การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ
และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ
ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
ได้ดังนี้
กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายูเรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา
หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน
เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู
ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน
รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้
รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ
ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่
กลุ่มชาวไทยมุสลิมชนดั้งเดิม
ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี
อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน
หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู
ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า
ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย
และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่
กลุ่มชาวไทยพุทธชนพื้นบ้าน
แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม
แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ
มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี
กลุ่มราชสำนักสยาม เนื่องจากผ้าทอ
ทางภาคใต้นั้นมีชื่อเสียงในความงดงามและ ประณีตดั้งนั้นกลุ่มเจ้านาย
ในราชสำนักตั้งแต่ อดีตของไทยจึงนิยม นำผ้าทอจากภาคใต้ โดยเฉพาะผ้ายกเอามาสวมใส่เป็นผ้าซิ่น
และผ้าโจงกระเบน โดยใส่เสื้อหลากหลายแบบ ส่วนใหญ่จะนิยมแบบยุโรป
ประเภทของผ้าทอที่มีชื่อเสียงของภาคใต้
ผ้ายกเมืองนครศรีธรรมราช เป็นผ้าที่ทอยกโดยการสอดดิ้นเงิน
และดิ้นทองสลับไหมอันวิจิตร ผลิตใช้สำหรับ ราชสำนักไทย ผ้ายกทองของนครศรีธรรมราชนั้น ขึ้นชื่อในความละเอียด
ลวดลายแปลกโดยสามารถทำหน้ากว้างได้ถึง 70-80 ตระกรอ โดยผ้าขนาด 12
เขานั้นต้องใช้คนทำถึง 3 คน ในอดีตใช้เป็นเครื่องราชบรรณาการสู่ราชสำนัก
สืบมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี จวบจนกรุงรัตนโกสินทร์ ส่วนใหญ่การทอจะได้รับอุปถัมภ์จากเจ้าเมือง
โดยนำรูปแบบและช่างทอจากอินเดียมาช่วยสอนอีกด้วย
ผ้ายกพุมเรียง
ชาวตำบลพุมเรียงอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เป็นชาวมุสลิม ที่หนีภัยสงครามมาจากเขาหัวแดง จังหวัดสงขลา จากปัตตานี และไทรบุรี ในสมัยต้นรัตนโกสินทร์
ผ้ายกจะมีสันสดใสฝีมือประณีต ที่มีชื่อเสียงคือผ้ายกหน้านาง ผ้ายกดอกถมเกสร
และดอกลายเชิง เป็นต้น
ผ้ายกเกาะยอ
เป็นผ้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสงขลา
เดิมคงอพยพหนีสงครามมาจากเขาหัวแดง มาอยู่ที่เกาะยอเนื่องจากวัสดุในการทอต้องสั่งซื้อจากต่างถิ่น
จึงทำให้การทอผ้ายกของเกาะยอมีปัญหา จนเกือบสูญหายไป
เพิ่งมาได้รับการส่งเสริมขึ้นอีกครั้งเมื่อหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โดยการใช้กี่กระตุกแทนกี่เตี้ย แบบดั้งเดิม
ผ้ายกปัตตานี
เมืองปัตตานีเคยเป็นเมืองท่านานาชาติที่สำคัญตั้งแต่สมัยอยุธยา
โดยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวจีน , อินเดีย และเปอร์เซีย ที่หนีการปกครองของ
ชาวโปรตุเกสจากเมืองมะละกา โดยนำเทคนิค การทอผ้า หลายหลากชนิดมาเผยแพร่
จนผสมผสานขึ้นโดยมีรูปแบบอัน เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง จากสัญลักษณ์ทางศาสนาอิสลาม
เข้ามาใช้ในลวดลายผ้า อย่างงดงาม
ผ้ายกปัตตานี เดิมเรียกว่าผ้าซอแกะ ผ้ามัดหมี่
เรียกว่าผ้าอีกัด ผ้าไหมยกตระกรอ เรียกว่า ผ้าการะดูวอ เป็นต้น
ผ้ายกปัตตานี ที่ทอยกทองนั้น ภายหลังได้สูญหายไป
คงเหลืออยู่บ้างก็คือ ผ้าจวนตานีหรือผ้า ล่วงจวน ซึ่งเป็นผ้ามัดหมี่
อันมีลักษณะพิเศษ โดยเฉพาะ ผ้าพานช้าง เป็นผ้าขิดใช้เป็นผ้ากราบพระ
ผ้าเช็ดหน้า หรือเช็ดน้ำหมาก ทอยาวติดกัน
เพื่อใช้ในพิธีทางศาสนาของชาวตำบลบ้านนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง แต่ละชิ้นมักเป็นรูป
สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขิดด้วยสีดำ , น้ำเงิน , ฟ้า ,
เขียว ทอเป็นลายครุฑ , คน และนกยูง
สลับตัวหนังสือโคลงกลอนคติธรรมสอนใจ
บางครั้งใช้ในพิธีศพ โดยเมื่อเสร็จพิธีแล้วจะนำมาตัดแบ่ง
แจกกันในครอบครัวลูกหลานหรือถวายพระเพื่อเป็นสิ่งรำลึกสืบไป
ปัจจุบันชาวใต้ยังคงสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมในการถักทอผืนผ้าซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในอดีตให้ปรากฏเป็นสิ่งทออันล้ำค่าอันสืบสาน
และโยงใยไปถึงความเจริญรุ่งเรืองในอดีตกาลของดินแดนแห่งนี้เพื่อให้คงอยู่กับผืนแผ่นดินไทยสืบต่อไป
ชั่วกาลนาน"
4.2.4 การแต่งกายของภาคเหนือ
การแต่งกายของชาวล้านนา
แม้จะเป็นชนกลุ่มใดก็ตาม ก็จะมีลักษณะร่วมกันอยู่ โดยเฉพาะ
จะประกอบด้วยเครื่องนุ่งและเครื่องห่ม ซึ่งแม้ว่าเวลาจะผ่านเลย
นับตั้งแต่สมัยของพญามังรายมาจนถึงสมัยเชื้อสายของพระเจ้ากาวิละแล้วก็ตาม
ก็ย่อมจะมีลักษณะไม่ต่างกัน
ในแง่ของผ้าที่ทอขึ้นในท้องถิ่นและการใช้งานที่ไม่ต่างกัน จึงน่าจะมีความคล้ายคลึงกันอยู่ในแง่ของรูปแบบและประเพณีนิยม
การแต่งกายของชายหญิงชาวล้านนามีลักษณะดังต่อไปนี้
การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา
“ล้านนา” ในปัจจุบันหมายถึง อาณาเขต 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา
ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน และแม่ฮ่องสอน การแต่งกายพื้นเมืองของล้านนา
จึงหมายถึงการแต่งกายของชนกลุ่มต่างๆ
ที่อาศัยอยู่ในล้านนาในอดีตอาณาจักรล้านนาในบางยุคสมัยอาจครอบคลุมไปถึงรัฐ ต่างๆ
เช่นสิบสองปันนา รัฐฉาน เชียงตุง เป็นต้น ซึ่งต่างก็เคยมีความสัมพันธ์กันมาช้านาน
ชนกลุ่มใหญ่ที่สร้างสมอารยธรรมในล้านนาก็คือ “ชาวไทยวน”
ซึ่ง ปัจจุบันเรียกตัวเองว่า “คนเมือง”
นอกจากนี้มีวัฒนธรรมกลุ่มชนต่างๆ ผสมผสานกันได้แก่ ชาวไทลื้อ ไทเขิน
ไทใหญ่(ไต) ชาวไทยวนในล้านนามีวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้สอยและแต่งกายเป็นเอกลักษณ์มา
แต่โบราณ จากหลักฐานด้านจิตรกรรมฝาผนังวัดต่างๆ ในเชียงใหม่และน่าน
ในเชียงใหม่เช่นวัดบวกครกหลวง วัดพระสิงห์วรวิหาร และวัดป่าแดด จิตรกรได้เขียนไว้เป็นหลักฐานประกอบกับการบันทึกของมิชชั่นนารี
หรือผู้รู้ที่เล่าสืบต่อกันมา
การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม
ปัจจุบัน
ชาวเชียงใหม่ได้มีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการแต่งกายพื้นเมืองขึ้น
ซึ่งมีหลายรูปแบบตามเผ่าพันธุ์ของ กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรล้านนาใน อดีต
เป็นการประยุกต์รูปแบบของเสื้อผ้าในยุคดั้งเดิมมาแต่งโดย พยายามรักษาความ
เป็นเอกลักษณ์ของชาวพื้นเมืองเชียงใหม่ไว้ ดังนั้น
จึงได้มีการพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในรูปแบบการแต่งกายพื้นเมือง
โดยคณะอนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่เมื่อปีพุทธศักราช๒๕๓๔
การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป
ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย
ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก
กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงาน สำหรับ หญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึง
ตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม
ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อ จะเป็นเสื้อคอกลม
มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัว ให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ
จนถึงกับมีคำสุภาษิตของชาวเหนือสั่งสอนสืบต่อกันมาเลยว่า
“ตุ๊กบ่ได้กิน
บ่มีไผตามไฟส่องต้อง”
“ตุ๊กบ่ได้นุ่งได้ย่อง
ปี้น้องดูแควน”
ทุกข์(จน)ไม่
มีจะกิน (อิ่มหรือหิว) คนไม่รู้ (ไม่มีใครเอาไฟมาส่องดูในท้องได้)
ทุกข์(จน)เพราะไม่มีอะไรมา แต่งตัว
(คนเห็น) ญาติพี่น้องดูถูกเอาได้
“วัฒนธรรมที่มีความสำคัญกับคนไทยไม่น้อยไปกว่าวัฒนธรรมด้านการแต่งกายและวัฒนธรรมด้าน
ภาษาคือวัฒนธรรมด้านอาหาร
ซึ่งวัฒนธรรมด้านอาหารของคนไทยนั้นก็มีมาตั้งแต่สมัยอดีตจนมาถึง ปัจจุบัน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะอาหารการกินที่แตกต่างกันออกไป
แต่โดยรวมแล้วเราจะเรียกว่า วัฒนธรรมอาหารไทย
ซึ่งอาหารไทยนั้นมีมากมายที่ขึ้นชื่อของไทย และโด่งดังไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น
ต้มยำ กุ้ง ผัดไทย เป็นต้น
อาหารถือเป็นวัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งของไทย ที่คนไทยควรให้ความสำคัญ”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น